เพลงเด็ก



ในปัจจุบันทุกคนต่างยอมรับกันว่า ดนตรีเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของคน อีกทั้งเป็นสิ่งที่บันเทิงเริงรมย์และมีประโยชน์ต่อคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งในเด็กเล็กๆนั้นดนตรีเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ดังนั้นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการเลือกเพลงที่เหมาะสมต่อพัฒนาการสำหรับเด็กๆ ซึ่งหลักในการเลือกเพลงสำหรับเด็ก มีดังนี้

เพลงสำหรับเด็กแบ่งออกได้กว้างๆเป็น2ประเภท คือ

1.เพลงบรรเลง หมายถึงเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียวไม่มีเนื้อร้อง ซึ่งเพลงประเภทนี้เป็นเพลงที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริมทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ดีมาก โดยเพลงบรรเลงนั้นแบ่งออกได้เป็น2ประเภทด้วยกัน ได้แก่

- เพลงบรรเลงที่มีจังหวะและท่วงทำนองช้า เป็นเพลงที่มีความถี่ของจังหวะ 60-70BPM(beat per minute) ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเต้นของหัวใจ(60-70ครั้งต่อนาที) ซึ่ง เพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองและจังหวะช้านี้จะช่วยทำให้เด็กมีอารมณ์ที่สงบผ่อนคลาย มีสมาธิ มีจิตใจที่อ่อนโยนนุ่มนวล ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสุนทรียภาพและช่วยให้อารมณ์ของเด็กสงบได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างของเพลงประเภทนี้ เช่น ลาวจ้อย(ทำนองเพลงไทยโบราณ) , Ave Maria(Bach) , Canon in D (Pachelbel) ซึ่งเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองและจังหวะช้านี้เป็นเพลงที่เมื่อเด็กๆได้ฟังแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายและความสุข ซึ่งภาษาทางด้านดนตรีเรียกภาวะแห่งความสุขนี้ว่า “อัลฟ่า เอฟเฟกต์ (Alpha Affect) เพลงบรรเลงช้าๆที่มีเสียงความถี่ตามธรรมชาติเช่นเสียงฝนตกเบาๆ เสียงนกร้อง เสียงลม จะมีผลช่วยทำให้คลื่นสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเปิดเพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองและจังหวะช้าให้เด็กๆฟังในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเช่น อ่านหนังสือทำกิจกรรมศิลปะจะช่วยทำให้เด็กเด็กมีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนั้นได้นานมากขึ้น

- เพลงบรรเลงที่มีท่วงทำนองและจังหวะเร็ว เป็นเพลงที่มีความถี่ของจังหวะ 80-120 BPM(beat per minute) ซึ่งเป็นเพลงที่ช่วยทำให้เด็กอารมณ์ดี มีความสุขสนุกสนาน ร่าเริงแจ่มใสอยากเคลื่อนไหวกระโดดโลดเต้นตามจังหวะและท่วงทำนองที่ได้ยิน ซึ่งตัวอย่างของเพลงประเภทนี้ได้แก่ พม่าเขว(ทำนองเพลงไทยโบราณ), Minuet in G.(Bach) , Rondo Alla Turca(Mozart) เพลงประเภทนี้ช่วยกระตุ้นให้เด็กมีอารมณ์ร่าเริง คึกคัก ตื่นเต้น ซึ่งเป็นการปลุกให้เด็กๆกระฉับกระเฉง ซึ่งทำให้เด็กๆอยากเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะของเพลงทำให้เด็กๆได้ออกกำลังกายไปในตัวซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านร่างกายให้กับเด็กโดยตรงนั่นเอง

2. เพลงที่มีเนื้อร้อง หมายถึงเพลงที่นอกจากบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆแล้วก็จะมีเสียงร้องนำเป็นเสียงหลักของบทเพลงนั้นนั้นด้วย ซึ่งบทเพลงที่มีเนื้อร้องที่เหมาะสำหรับเด็กนั้นควรมีลักษณะดังนี้

- เป็นเพลงที่ส่งเสริมจริยธรรม เพลงที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะให้เด็กฟังนั้นควรจะเป็นเพลงที่มีเนื้อหาที่ส่งเสริมทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งคุณธรรมในที่นี้นั้นเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ อันได้แก่

ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมรอบตัว การแบ่งปัน การเสียสละ ความซื่อสัตย์ ความเมตตา การให้อภัย ความสามัคคี ยกตัวอย่างของเพลงประเภทนี้ เช่น


ผู้จัดทำ

ด.ช. ณัฎฐกรณ์ น้ำใสใจสด ชั้นป.6 ปีการศึกษา 2565